‘ทศกัณฐ์’ แพลตฟอร์มดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ AI การมีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดีย
Date : 02/05/2024
สิ่งที่ทำให้แพลตฟอร์มดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในองค์กรมากขึ้น
เพราะแพลตฟอร์มดิจิทัลส่วนใหญ่มักประกอบด้วยการวิเคราะห์ธุรกิจและการรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยให้ธุรกิจได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและแนวโน้มของลูกค้า เป็นโอกาสที่ดีที่ธุรกิจจะใช้ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเสริมการตัดสินใจและขับเคลื่อนการเติบโตให้กับธุรกิจ นอกจากนี้องค์กรต่าง ๆ ยังสามารถติดตามพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ด้วยการทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลได้ 

ARDI จึงสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัล ‘ทศกัณฐ์ (Toskhan)’ ขึ้นมาภายใต้ความต้องการที่ว่า “เราอยากรู้ว่าบนโซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือบนออนไลน์กล่าวถึงเรา คู่แข่ง และแวดวงอุตสาหกรรมของเราว่าอย่างไร” แม้แต่องค์กรที่ต้องการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ สามารถสำรวจตลาดออนไลน์และวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดด้วยการเก็บข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลทศกัณฐ์ นอกจากนี้เรายังต้องการติดตามและวัดความรู้สึกของผู้คนบนออนไลน์ ผ่านการใช้ ‘คำ’ เพื่อค้นหาข้อมูล ข่าวสาร และการกล่าวถึง

โดยมี Sentiment สำหรับวัดความรู้สึกบนโลกออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เรารู้ว่าผู้ใช้งานออนไลน์รู้สึกอย่างไรกับข้อความเหล่านั้น เนื่องจากความคิดเห็นของลูกค้าเป็นตัวชี้วัด ที่ธุรกิจใช้เพื่อวัดว่าลูกค้าคิดและรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับแบรนด์ แม้จะเป็นเครื่องมือวัดผลง่ายๆ แต่ก็ติดตามได้ว่าผู้ใช้มีมุมมองเชิงบวก ลบ หรือเป็นกลางเกี่ยวกับโพสต์หรือข้อความนั้น 
 
รู้จัก ‘ทศกัณฐ์’ แพลตฟอร์มดิจิทัล
Toskhan เป็นแพลตฟอร์ม Social Listening ที่ช่วยติดตามกิจกรรมบนโซเชียลมีเดีย ในการตรวจสอบคู่แข่ง การรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค ปัญหาในสินค้า
หรือการใช้บริการของลูกค้า รวมถึงแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ช่วยให้เข้าใจกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้วางกลยุทธ์ทางการตลาด ปรับกลยุทธ์การสื่อสารได้ต่อไป
 
 
ทศกัณฐ์ ช่วยธุรกิจวัดความรู้สึกได้อย่างไร
ทศกัณฐ์จะติดตามข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย เว็บบอร์ด และเว็บไซต์ ตามคำค้นหาที่ต้องการ โดยคำค้นหา (Keyword set) อาจจะเป็นชื่อสินค้า
ชื่อแบรนด์ของคู่แข่ง โดยการใช้งาน Toskhan-Social Listening มี 3 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ
1. สร้าง Project และช่วงระยะเวลาที่ต้องการติดตาม อาจจะ 1 เดือน, 3 เดือน หรือ 6 เดือน
2. เลือกคำค้นหา (Keyword set) ที่ต้องการ โดยอาจเป็นชื่อสินค้า ชื่อกลุ่มเป้าหมาย ชื่อแบรนด์ทั้งของบริษัทและคู่แข่ง
3. กดดูรายงานผลการค้นหาในหน้า Dashboard แสดงมุมมองต่างๆ ทั้งจำนวนความเห็น ความรู้สึก(Sentiment) และการมีส่วนร่วม (Engagement) ได้เลย
 

 
ข้อมูลแสดงบน Dashboard มีหลากหลากหลายมุม รวบรวมจากข้อมูลที่กระจายอยู่ในแหล่งต่างๆ มาวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการทำงานของ AI ที่ถูกนำมาใช้ช่วยในการวิเคราะห์หา Text Mining ซึ่งเป็นการนำคำค้นที่สำคัญ มาวิเคราะห์ค้นหาเพิ่มเติมว่าเจอคำเหล่านี้มากน้อย ในช่วงเวลาใด นำมาแสดงความถี่ของคำที่พบ อาจจะเจอในช่วงสั้นๆ หรือมีการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับแสดง Sentiment ของข่าวที่พบเจอคำเหล่านี้
 

 
ตัวอย่างประเทศได้เข้าสู่ฤดูร้อน เราจึงใช้คำที่เกี่ยวกับคำว่าร้อน มาค้นหาดูว่าในแต่ละข้อมูลมีความคิดเห็นไปในทิศทางใด ไม่ว่าจะเป็นความเห็นเชิงบวก
(Positive Sentiment), ความเห็นที่เป็นกลาง (Neutral Sentiment) และความเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 

จากข้อมูลที่แสดงบน Dashboard คีย์เวิร์ด ‘ร้อน’ มีจำนวน Messages ทั้งสิ้น 3,310 ที่กล่าวถึงคีย์เวิร์ดนี้ โดยแบ่งเป็น เชิงบวก  1,277 ข้อความ, เชิงลบ 1,353 ข้อความ และ 690 ข้อความที่เป็นเชิงลบ โดยข้อความที่ได้ทั้งหมดอาจไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการเสมอไป ดังนั้นหากต้องการเจาะจงไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ใส่ทั้ง Keyword และ Sub Keyword ทั้งคู่ เช่น Keyword = แพลตฟอร์มดิจิทัล / Sub Keyword = ทศกัณฐ์ เป็นต้น 

บริษัทต่างๆ จะได้รับข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับความคิดเห็นของลูกค้า ชื่อเสียงของแบรนด์ และแนวโน้มของตลาด ด้วยการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ เทคนิค และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เพราะการรับฟังเสียงบนโซเชียลมีเดียไม่ใช่แค่การติดตามการกล่าวถึงเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการทำความเข้าใจความรู้สึกเบื้องหลังของข้อความเหล่านั้น ด้วยการวิเคราะห์น้ำเสียงและอารมณ์ที่แสดงออกในโพสต์บนโซเชียลมีเดีย บริษัทต่างๆ จึงสามารถตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูล ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า และก้าวนำในการแข่งขันในปัจจุบัน