Data collection ในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร
Date : 13/06/2024
จากการสำรวจ การสัมภาษณ์ สู่การใช้เครื่องมือดิจิทัลในการรวบรวมข้อมูล
ทุกคนล้วนทราบกันดีว่า ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไป โดยเฉพาะปริมาณ การรวบรวม ประเภท และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้พัฒนาไปสู่สิ่งที่เป็นปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งการพัฒนานี้ส่งผลกระทบต่อทุกคนและทุกอุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้การทำ Data collection ในสมัยก่อนกับปัจจุบันจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมตรงที่เราได้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัลและให้ความสนใจกับข้อมูลบนออนไลน์มากขึ้น
การรวบรวมข้อมูลออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างมาก แทบจะเป็นเครื่องมือสำคัญในตลาด หากคุณไม่เริ่มเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล นั่นหมายความว่าคุณไม่ได้เพิ่มศักยภาพเทียบเท่าคนอื่น ยิ่งในปัจจุบันเราพัฒนาจากการสำรวจออนไลน์จากกลุ่มเป้าหมายเป็นการใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราแทน ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ เว็บบล็อก หรือโซเชียลมีเดีย
Data collection คืออะไร?
Data collection หรือการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูล วัด และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็น Insight ผ่านเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด โดยพื้นฐานแล้ว การรวบรวมข้อมูลคือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการดึงข้อมูลจากแหล่งที่แตกต่างกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึก (Insight) ในหัวข้อเฉพาะที่สนใจจากมุมมองของผู้ใช้
Data collection หรือการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูล วัด และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็น Insight ผ่านเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด โดยพื้นฐานแล้ว การรวบรวมข้อมูลคือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการดึงข้อมูลจากแหล่งที่แตกต่างกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึก (Insight) ในหัวข้อเฉพาะที่สนใจจากมุมมองของผู้ใช้
Data collection ให้ข้อมูลแบบใด
การรวบรวมข้อมูลสามารถให้ข้อมูลได้ 2 ประเภท คือเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) หมายถึงข้อมูลที่อธิบายลักษณะเฉพาะ คุณภาพ และลักษณะที่ไม่สามารถวัดได้อื่น ๆ ในเรื่องบางเรื่อง ซึ่งรวมถึงความคิดเห็นส่วนตัว คำอธิบายของสถานที่ เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมบางอย่าง หรือคุณภาพของรายการบางอย่าง ข้อมูลเชิงคุณภาพมักจะวัดด้วยตัวเลขได้ยาก ดังนั้นจึงมีการวิเคราะห์ตามคุณภาพหรือรูปแบบ
ในส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) หมายถึงข้อมูลเชิงปริมาณหรือที่สามารถนับได้ เช่น สถิติ จำนวนผู้มีส่วนร่วมหรือผู้เข้ารับการทดสอบ และข้อมูลที่อยู่ภายใต้มาตรฐานการวัดบางอย่าง เช่น อุณหภูมิ ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีเทคนิคการรวบรวมข้อมูลที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากมักทำงานร่วมกันเพื่อช่วยสร้างการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้นนั่นเอง
การรวบรวมข้อมูลสามารถให้ข้อมูลได้ 2 ประเภท คือเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) หมายถึงข้อมูลที่อธิบายลักษณะเฉพาะ คุณภาพ และลักษณะที่ไม่สามารถวัดได้อื่น ๆ ในเรื่องบางเรื่อง ซึ่งรวมถึงความคิดเห็นส่วนตัว คำอธิบายของสถานที่ เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมบางอย่าง หรือคุณภาพของรายการบางอย่าง ข้อมูลเชิงคุณภาพมักจะวัดด้วยตัวเลขได้ยาก ดังนั้นจึงมีการวิเคราะห์ตามคุณภาพหรือรูปแบบ
ในส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) หมายถึงข้อมูลเชิงปริมาณหรือที่สามารถนับได้ เช่น สถิติ จำนวนผู้มีส่วนร่วมหรือผู้เข้ารับการทดสอบ และข้อมูลที่อยู่ภายใต้มาตรฐานการวัดบางอย่าง เช่น อุณหภูมิ ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีเทคนิคการรวบรวมข้อมูลที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากมักทำงานร่วมกันเพื่อช่วยสร้างการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้นนั่นเอง
Data collection สมัยก่อนกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร
เราทราบกันดีว่ากระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection) ถูกปรับใช้ผ่านวิธีการรวบรวมข้อมูลที่แตกต่างกัน รวมถึงการสำรวจ (Survey), การสัมภาษณ์ (Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยทางการตลาดและการสำรวจด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความคิดเห็นเชิงลึก
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความต้องการและเทคโนโลยีก้าวหน้า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้เปลี่ยนไปเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลอัตโนมัติ โดยมีอินเทอร์เน็ต แอปฯ และเครื่องมือดิจิทัลเป็นแหล่งข้อมูลหลักอันใหม่ ทำให้ Data collection จะส่งมอบข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของธุรกิจหรือผลลัพธ์ที่สำคัญอื่น ๆ ตลอดจนคาดการณ์แนวโน้ม และการดำเนินการในอนาคต เช่น รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นที่พูดถึงบนโซเชียลมีเดีย ด้วยการใช้ Social Listening ด้วยคำที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
การพัฒนาของ Data collection ที่ทำให้เราเห็นได้ชัดมากขึ้นคือ Social Listening ตอนนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักเครื่องมือนี้อย่างแน่นอนโดยเฉพาะธุรกิจ ตัวเครื่องมือมีกระบวนการทำงานด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยระบบจะทำการดึงข้อมูล หรือรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของผู้ใช้จากเว็บไซต์ เว็บบล็อก หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media) ต่าง ๆ เช่น Facebook และ Twitter เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้เราสามารถทราบได้ว่าคำ (Keyword) หรือหัวข้อ (Topic) ที่ผู้คนสนใจ และมีการถูกพูดถึง ซึ่งช่วยให้คุณเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่าผู้ชม ลูกค้า และผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าของคุณคิดและรู้สึกอย่างไร
TOSKHAN Social Listening เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection) บนออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ เว็บบล็อกและโซเชียลมีเดีย เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ต้องการเกี่ยวกับ ‘คีย์เวิร์ด (Keyword)’ ที่ต้องการ หรือความสนใจในขณะนั้นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
ตัวอย่าง
อยากรู้ว่าข้อมูลบนออนไลน์ในช่วงเวลานั้นมีคำที่เกี่ยวกับ ‘ชาไทย หรือชาเย็น’ มากกว่ากัน สรุปมีการพูดถึงชาไทยมากที่สุด โดยจะแบ่งให้เห็นว่าข้อความที่มีคีย์เวิร์ดที่เราต้องการมาจากช่องทางใดบ้าง และมีความรู้สึก (Sentiment) ต่อโพสต์นั้นอย่างไร จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน เราไม่ต้องทำการรวบรวมข้อมูลแบบเดิมแล้ว แต่เราแค่ใช้เครื่องมือช่วยรวบรวมข้อมูลมาให้เราแทน ประหยัดเวลาและได้ข้อมูลเชิงลึกจากหลาย ๆ แหล่งบนออนไลน์